วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

รายงานที่ดี

ส่วนประกอบของรายงาน

รายงานที่ดีควรประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนดังนี้คือ ส่วนประกอบตอนต้น หรือส่วนนำส่วนประกอบตอนกลางหรือส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนประกอบตอนท้าย
1. ส่วนประกอบตอนต้น หรือส่วนนำ คือส่วนที่อยู่ตอนต้นเล่มของรายงานก่อนถึงเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย ปกนอก หน้าปกใน คำนำ สารบัญ บัญชีตาราง บัญชีภาพประกอบ
2. ส่วนประกอบตอนกลาง หรือส่วนเนื้อเรื่อง คือส่วนที่อยู่ต่อจากส่วนประกอบตอนต้นหรือส่วนนำ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของรายงาน เพราะจะครอบคลุมเนื้อเรื่องทั้งหมดของรายงานตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้ หรือตามหัวข้อที่แจ้งไว้ในสารบัญ
3. ส่วนประกอบตอนท้าย คือส่วนเพิ่มเติมให้ทราบถึงความพยายามหรือแนวค้นคว้าของผู้จัดทำรายงาน ตลอดจนส่วนที่จะช่วยให้ผู้อ่านหรือผู้ใช้ประโยชน์จากรายงานสามารถตรวจสอบค้นคว้าเพิ่มเติม
ลักษณะของรายงานที่ดี

รายงานที่ดีควรมีลักษณะที่ดีดังนี้
1. แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง กว้างขวาง และมีเนื้อเรื่องครบถ้วนตามหัวข้อที่กำหนด
2. มีความถูกต้องเที่ยงตรง และแม่นยำ
3. ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
4. ผู้เขียนแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่
5. แสดงว่าผู้เขียนมีความเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องที่เขียน อาจจะเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าเรื่องนั้นให้กว้างขวางและลึกซึ้งต่อไป
6. มีแนวทางที่แก้ไขปัญหาที่กำลังศึกษาอยู่
7. จัดเรียงลำดับของเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี เมื่อกล่าวถึงสิ่งใดก็มีหลักฐานอ้างอิงอย่างเพียงพอ สมเหตุสมผล ตลอดจนมีความสามารถในการกลั่นกรองและสรุปความรู้ความคิดได้จากแหล่งต่างๆ
8. แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนมีความคิดสร้างสรรค์เป็นของตนเอง
9. แสดงหลักฐานที่มาอย่างถูกต้องและละเอียดถี่ถ้วน
10. ใช้ภาษาได้ถูกต้องได้ผลตามจุดมุ่งหมาย และเป็นภาษาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การเขียนรายงาน

การเขียนรายงาน

ความหมายของการเขียนรายงาน รายงาน (Report) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 953) ให้ความหมายของคำว่า “รายงาน” ว่าเป็นคำนาม หมายถึง เรื่องราวที่ไปศึกษาค้นคว้าแล้วนำมาเสนอที่ประชุม ครูอาจารย์หรือผู้บังคับบัญชา นอกจากนี้ยังมีผู้ให้คำจำกัดความของคำว่า “รายงาน”

ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า การเขียนรายงาน หมายถึง การนำเสนอผลงานจากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบ ตามระเบียบแบบแผน โดยมีการอ้างอิงหลักฐานที่ชัดเจน ซึ่งอาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นคณะก็ได้ ทั้งนี้ การเขียนรายงานมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เนื้อหาและระยะเวลาในการจัดทำหรือศึกษาค้นคว้า
ประโยชน์ของรายงาน
1. ทำให้ทราบผลการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
2. ใช้วิธีการหนึ่งในการประเมินผลงานและประเมินค่าของการปฏิบัติงาน
3. ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงและเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์วิจัยต่อไป
4. ใช้เป็นหลักในการกำหนดโครงการหรือแนวทางในการปฏิบัติงาน
5. ใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรภายในหน่วยงานและให้ความรู้ความเข้าใจ แก่คนทั่วไป

ประเภทของรายงาน
รายงานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. รายงานทางวิชาการ เช่น รายงานของนักศึกษาหรือสถาบันทางวิชาการ ฯลฯ
2. รายงานทางธุรกิจ เช่น รายงานการสำรวจตลาด รายงานประจำปี รายงานวิเคราะห์ ฯลฯ
3. รายงานทั่วไป เช่น รายงานการปฏิบัติงาน รายงานเหตุการณ์ รายงานผลการสอบสวน รายงานประชุม ฯลฯ
นอกจากนี้อาจแยกรายงานเป็นประเภทต่าง ๆ ได้อีกหลายประเภทตามวัตถุประสงค์ของการนำเสนอรายงานนั้น ได้แก่ รายงานที่เป็นทางการ และรายงานที่ไม่เป็นทางการ รายงานการศึกษา การดูงาน การฝึกอบรม การค้นคว้า เป็นต้น

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เคล็ดนำโชคของเจ้าสาว

ตำรายุโรปของเก่าบอกว่า เจ้าสาวจะเป็นผู้หญิงที่โชคดีที่สุด จะเป็นที่รักของสามีอย่างมิเสื่อมคลาย หากปฏิบัติตามเคล็ดต่อไปนี้ ...
1. ในการแต่งตัว จะต้องมีสิ่งของที่เป็นของตัดใหม่หรือซื้อมาใหม่ สวมใส่ติดตัวตลอดงานวิวาห์ อาจจะเป็นรองเท้าหรือชุดเจ้าสาวก็ได้
2. ของในตัวจะต้องมี 1 อย่างเท่านั้นที่เป็นของยืมเขามา เช่น อาจจะเป็นสร้อยเพชร หรือชุดเจ้าสาวก็ย่อมได้
3. ของในตัว จะต้องมีของที่เป็นของเก่าด้วย เช่น นาฬิกา หรือ กำไลข้อมือ
4. ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า จะต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็น "สีของท้องฟ้า" ติดประดับอยู่ในร่างกายด้วย เช่น ตุ้มหู หรือโบติดผมก็ได้ ...